การเลี้ยงนกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลกจนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในท...


นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลกจนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาซึ่งป่าแอฟริกาจะเป็นป่าโปร่งมีทุ่งหญ้ากว้างไกล มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีบางส่วนเป็นทะเลทราย คนแอฟริกันจะมีความคุ้นเคยกับนกกระจอกเทศเกือบทุกส่วน ตั้งแต่เนื้อ ไข่สำหรับบริโภค หนังทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เปลือกไข่ไว้บรรจุน้ำหรือทำเครื่องประดับ และขนทำเครื่องประดับของเผ่า เป็นต้น

กล่าวได้ว่า การทำฟาร์มนกกระจอกเทศนั้นเริ่มต้นเกิดขึ้นในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ต่อมาการทำฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศแพร่หลายเพิ่มขึ้นในทวีปต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอลออสเตรเลีย และจีน เป็นต้น นับได้ว่าปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ฟาร์มทั่วโลก
ลักษณะและพฤติกรรมโดยทั่วไป
นกกระจอกเทศจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดตัวโตเต็มที่สูงประมาณ 1.9-2.8 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนัก ประมาณ 165 กิโลกรัม มีอายุยืนประมาณ 65-75 ปี ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัย ขนตามลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก สำหรับตัวเมีย จะมีขนตามตัว สีน้ำตาลปนเทาปากมีลักษณะแบน และกว้าง ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศรีษะล้าน บางชนิดมีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อน คอยาวและมีขนอ่อน ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาว 1-2 ฟุต แต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับใช้บิน ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน

ลักษณะเท้านกกระจอกเทศจะมีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและ นิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มาก คือ นิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็ว ของฝีเท้ามักจะมีนิ้วครบชุดมือ - เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้า เพื่อหนีศัตรู ธรรมชาติก็วิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่น เท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า และนกกระจอกเทศจะมีเล็บเท้าข้างละ 1 เล็บเท่านั้น

นกกระจอกเทศจะชอบอยู่กันเงียบ ๆ และไม่ชอบเสียงดัง ถ้ามีอะไรรบกวนให้ตกใจ นกกระจอกเทศจะลุกและวิ่งหนีไปข้างหน้าทันที

นกกระจอกเทศถึงแม้ว่าจะมีมันสมองเล็ก แต่ก็มีความสามารถในการจดจำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดี มีความสามารถจำผู้ที่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี จำสถานที่พักอาศัยที่ปลอดภัยดี และถ้าตกใจหรือถูกรังแกทำร้ายจากสัตว์ชนิดใด นกกระจอกเทศจะจดจำ เมื่อจวนตัวหรือโกรธจะต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการเตะหรือถีบไปข้างหน้า ธรรมชาติได้สร้างให้นกกระจอกเทศมีสีที่พรางตัวเป็นอย่างดีในทุ่งหญ้าแถบทะเลทราย มีคอที่ยาว 90-95 เซนติเมตร และสายตาที่ดีมาก จึงสามารถมองเห็นศัตรูที่จะมาทำร้ายได้ในระยะไกลถึง 12-14 กิโลเมตร นกจะยืดหดคอและหัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการตรวจสอบระแวดระวังภัย

โดยทั่วไปแล้วนกกระจอกเทศขอบที่จะอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน มีความชื้นต่ำ ในเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดจะหลบเข้าตามร่มเงาของต้นไม้ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระจอกเทศจะให้ประสบความสำเร็จ ควรจะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนหรืออบอุ่น ไม่มีฝนตกชุกมากนักและต้องมีความชื้นต่ำ ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้น

พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนชุกและความชื้นสูง พายุลมฝน และบางครั้งมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน อากาศชื้น ซึ่งจำทำให้นกกระจอกเทศเจ็บป่วยได้

ภูมิอากาศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนกกระจอกเทศ คือ ลมพายุฝน ฝนที่ตกพรำ ๆ ติดต่อกันหลายวัน เพราะจะทำให้ช่วงเวลาให้ไข่ลดลงด้วย

ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศเมื่อมีอายุประมาณ 10-14 เดือน น้ำหนักประมาณ 90-110 กิโลกรัม เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด แต่ต้นทุนการผลิตต่ำสุด เมื่อนกกระจอกเทศอายุมากขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อจะยิ่งสูงขึ้น (FCR) ซึ่งหมายถึงต้นทุนในการผลิตจะยิ่งมากขึ้นด้วย ในนกกระจอกเทศหนึ่งตัวสามารถให้ผลผลิตต่าง ๆ มากมาย และมีคุณภาพดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหนัง ขน ไข่ หรือน้ำมัน เพราะผลผลิตแต่ละชนิดมีความพิเศษเฉพาะตัวดังนี้

หนัง (Leather)
ถือว่าเป็นส่วนที่มีมูลค่าและราคาแพงที่สุด เพราะหนังนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีเยี่ยม และทนทานกว่าหนังจระเข้ นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปถึง 3 แบบ คือ
# หนังส่วนแข้ง จะมีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายหนังของสัตว์เลื้อยคลาน
# หนังบริเวณต้นขา จะเป็นหนังเกลี้ยงเรียบคล้ายหนังวัว
# หนังบริเวณหลัง จะมีเม็ดตุ่มนูนขึ้นมา ซึ่งตุ่มนี้คือรูขุมขนนั่นเอง หนังส่วนนี้จะมีราคาแพงที่สุด ยิ่งถ้าตุ่มรูขุมขนนูนเด่นชัดเจนและสม่ำเสมอจะยิ่งมีราคาแพง

หนังของนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ็คเก็ต กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด บู๊ต หรือเฟอร์นิเจอร์ นกกระจอกเทศอายุ 10-14 เดือน จะให้หนังที่มีคุณภาพดีที่สุด ขนาด 1.1 - 1.5 ตารางเมตร

เนื้อ (Ostrich meat) 
เนื้อนกกระจอกเทศจะมีสีแดง (Red meat) เหมือนวัว แต่จะนุ่มกว่า (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุเนื้อนกกระจอกเทศที่ฆ่าด้วย) มีโปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อวัว หรือสัตว์ใหญ่

ตารางส่วนประกอบของโภชนะของเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ (จากเนื้อสัตว์ชนิดละ 100 กรัม)
นกกระจอกเทศจะนำไปเข้าโรงงานแปรรูปที่อายุระหว่าง 10-14 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วย ซึ่งถ้าเป็นนกกระจอกเทศคอดำจะส่งโรงงานแปรรูปที่อายุ 12-14 เดือน ส่วนคอน้ำเงิน และคอแดง จะส่งที่อายุ 9-12 เดือน ซึ่งถือว่าเป้นช่วงที่ดีที่สุด และโตเต็มที่แล้ว โดยจะมีน้ำหนักระหว่าง 90-110 กิโลกรัม เมื่อชำแหละแล้วจะได้น้ำหนักซากประมาณ 60 กิโลกรัม หรือระหว่าง 56-64% ซึ่งคิดเป็นเนื้อแดงประมาณ 34-43 กิโลกรัม โดยนกกระจอกเทศตัวผู้จะให้เนื้อมากกว่าตัวเมียประมาณ 8.5-14.1 %
13ขน (Feathers) 
พัฒนาการของขนนกกระจอกเทศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเต็มที่แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเกิด (0-1 เดือน) เข้าสู่ระยะลูกนก (1-4 เดือน) แล้วเป็นนกรุ่น (5-15 เดือน) และไปสิ้นสุดที่นกโตเต็มวัยใช้เวลา 16 เดือน แลหลังจากอายุ 2 ปีไปแล้ว ขนนกจะไม่มีการพัฒนารูปแบบอีกเลย โดยนกกระจอกเทศตัวผู้จะมีขนลำตัวสีดำ ส่วนปลายปีกและขนหางจะมีสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลเทา ซึ่งขนสีขาวหรือสีขาวนวลที่ปลายปีกและหาง จะมีราคาแพงที่สุด ผู้เลี้ยงสามารถตัดขนนกกระจอกเทศได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทิ้งระยะห่างกันทุก 6-8 เดือน จะได้ขนนกประมาณ 1.5-2.0 กิโลกกรัมต่อปี ขนนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนขนด้านในจะใช้ทำไม้ปัดฝุ่น (dusters) เหมาะสำหรับเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ที่บอบบาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะขนนกกระจอกเทศจะมีคุณสมบัติ และลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนขนสัตว์ชนิดอื่นตรงที่มีไขมันเคลือบอยู่ จึงทำให้ทำความสะอาดอุปกรณ์หรือภาชนะอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำไปฟอกและย้อมสีได้หลายชนิด และจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดผลิตขนนกกระจอกเทศเทียมได้เลย

การเก็บผลผลิตขนนกกระจอกเทศ 
1. การถอน (Plucking) โดยใช้มือดึงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนก โดยเลือกจากโคนขนที่แห้งและใกล้จะหลุดแล้ว เพราะถ้ายังเป็นขนสดจะทำให้นกเจ็บ และยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการ โดยดึงออกมาทั้งขนและก้านขน
2. การตัด (Clipping) โดยใช้อุปกรณ์ เช่น กรรไกร ตัดขนตรงที่ต้องการ ซึ่งอาจจะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขน โดยตัดห่างจากหนังประมาณ 2 เซนติเมตร ทิ้งก้านไว้ จนเป็นขนแห้งและจะหลุดร่วงไปเอง ราคาซื้อขายขนนกกระจอกเทศจะถูกหรือแพงขึ้นกับการคัดคุณภาพ (Grading) โดยพิจารณาได้จาก
2.1 ความยาวของขน (Length) โดยปกติถ้าเป็นขนปีกจะยาวไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และขนอ่อนที่ลำตัวต้องยาวไม่น้อยกว่า 25-33 เซนติเมตร
2.2 ความกว้างของขน (Breadth) ขนนกกระจอกเทศ ถ้ายิ่งกว้างจะยิ่งมีราคาแพง ขนปีกที่ดีควรจะกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาวของเส้นขนที่ห่างจากก้านทั้งสองด้านจะต้องเท่ากัน และปลายขนจะต้องกลมมน
2.3 ความหนา (Thick of Shaft) ก้านขนจะต้องไม่ใหญ่มาก แต่แข็งแรง และโค้งงอได้อย่างสวยงาม
2.4 ไม่มีตำหนิ ไม่มีรอยฉีกขาด แหว่ง เสียหาย และไม่มีพยาธิ หรือไร (Freedom from Defects) ขนที่ดีจะต้องเป็นมัน อ่อนนุ่ม มีความสม่ำเสมอทั้งด้านซ้ายและขวาของก้านขน 
ของที่ระลึกที่ผลิตจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ 

ไข่ (Eggs) 
ไข่นกกระจอกเทศเมื่อโตเต็มที่ขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 950-1,980 กรัม ยาว 15-17 เซนติเมตร กว้าง 12-15 เซนติเมตร เปลือกไข่สีขาวนวล หนา 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไข่สามารถนำไปบริโภคได้เช่นเดียวกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ หากต้องการต้มไข่นกกระจอกเทศจะใช้เวลา 60-80 นาที จึงจะสุก หรือจะนำไปทอดหรือเจียวก็ไดนอกจากคุณค่าทางอาหารสูงแล้วเปลือกไข่ยังสามารถนำไปแกะสลักหรือวาดลวดลายบนเปลือกไข่ เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน 
ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันนกกระจอกเทศ

น้ำมัน (Oil) 
นกกระจอกเทศจะให้น้ำมันตัวละ 4-5 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของการฆ่าด้วย ถ้าฆ่าอายุน้อย ไขมันที่สะสมอยู่ตาส่วนต่าง ๆ ของร่างก็มีน้อย แต่ถ้าอายุมากไขมันก็จะเยอะขึ้น ซึ่งไขมันของนกกระจอกเทศ สามารถนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปสกัด (purified) ใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางค์ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นครีมชนิดต่าง ๆ สบู่ ยาสระผม เป็นต้น เพราะสามารถซึมเข้าใต้ผิวหนังได้รวดเร็ว และบำรุงให้ผิวเต่งตึง นวลเนียน

การวางแผนผังฟาร์ม
การวางแผนผังฟาร์มขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ ปริมาณนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ ปริมาณนกที่เลี้ยงในขนาดต่าง ๆ และพื้นที่ที่จะดำเนินการ การวางแผนผังฟาร์มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการขยายกิจการต่อไป และการจัดสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมปริมาณนกกระจอกเทศไปฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่

แผนผังฟาร์มโดยทั่วไปประกอบด้วย 
1. พื้นที่โรงเรือนฟักไข่
2. พื้นที่โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
3. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
4. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศฝูง
5. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์
6. พื้นที่เก็บอาหารสัตว์และอุปกรณ์
7. พื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์
8. พื้นที่โรงเรือนกักโรค
9. พื้นที่สำนักงาน

อัตราส่วนของพื้นที่เลี้ยงนกกระจอกเทศ 
การเลี้ยงนกกระจอกเทศควรมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศให้นกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบายพอสมควร

ซึ่งพื้นที่ที่ทำฟาร์มเลี้ยงควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์สำหรับสำรองไว้ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี สำหรับพื้นที่โรงเรือนควรจะมีอยู่ประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมอื่น ๆ ด้วย

แต่พอจะสรุปความต้องการพื้นที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศได้ดังนี้
ชนิดของคอกและโรงเรือน
1.คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ 
การจัดฝูงผสมพันธุ์จะประกอบด้วยนกกระจอกเทศ เพศผู้ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แต่จะนิยมใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว ซึ่งจะต้องมีโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่โรงเรือน 1 หลังต่อนกกระจอกเทศ 1 ชุด คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

1. โรงเรือน (Shade)

ส่วนประกอบจะต้องมีหลังคาซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.75-3 เมตร มีฝาผนัง 3 ด้าน มีประตูเข้าออก สามารถป้องกันแดด ลม พายุ ฝน ได้เป็นอย่างดี ตัวโรงเรือนควรจะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 3x5 เมตร ประตูเข้าออกควรจะมี 2 ด้าน สาเหตุที่มีประตู 2 ด้าน เพื่อเป็นการป้องกันนกกระจอกเทศไม่ให้เข้ามาทำร้ายขณะเก็บไข่ออกไปฟัก ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์นกกระจอกเทศเพศผู้จะดุและหวงไข่ ต้องกันออกไปข้างนอกก่อนจึงจะเก็บไข่ได้ หรือในกรณีที่นกป่วยจะได้ขังไว้ในโรงเรือนทำให้สามารถจับนกทำการรักษาได้สะดวก หรือในกรณีที่มีพายุฝนตกหนัก ควรจะปิดขังไม่ให้นกกระจอกเทศออกไปเล่นฝน ภายในโรงเรือนจะต้องประกอบด้วยรางน้ำรางอาหาร พื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นดินอัดแน่นและปูทับด้วยทรายที่สะอาดให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 6 นิ้วให้ทั่วโรงเรือน สำหรับนกกระจอกเทศเพศเมียจะทำหลุมวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์

2. พี้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง(Outdoor)

สำหรับเป็นที่วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายและถ้าให้ดีควรจะปลูกหญ้าไว้ให้นกจิกกินด้วย

รั้ว สำหรับการออกแบบสร้างรั้วจะต้องพิจารณา
1. รั้วสำหรับคอกนกใหญ่ จะต้องสูงอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาด้วยว่านกที่เลี้ยงเป็นประเภทคอแดง คอน้ำเงิน หรือคอดำเพราะความสูงจะแตกต่างกัน
2. รั้วจะต้องมั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงเตะหรือแรงปะทะของนกกระจอกเทศเมื่อวิ่งมาชนเพราะนกกระจอกเทศวิ่งเร็วอัตราเฉลี่ย 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมน้ำหนักของตัวนกอีกประมาณ 100 กิโลกรัม
3. เป็นรั้วที่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเช่น สุนัขเข้าไปรบกวนนกกระจอกเทศเกิดความเครียดและตื่นตกใจ
4. ต้องไม่เป็นรั้วลวดหนาม เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับบาดเจ็บและผิวหนังถูกรั้วขีดข่วน รั้วดังกล่าวควรจะเป็นลวดถักหรือลวดเส้นก็ได้
5. หัวมุมคอกควรจะทำให้โค้งหรือมน เพราะเวลานกกระจอกเทศวิ่งเข้าไปชนแล้วจะไม่รู้จักถอยออกมา แต่ถ้าหากเป็นมุมฉากแล้วควรใช้ยางรถยนต์ไปปิดไว้เพื่อกันกระแทก เป็นการป้องกันการสูญเสียทางหนึ่งด้วย
6. เป็นรั้วที่นกกระจอกเทศมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งอาจจะใช้สีขาวทาหรือแขวนแผ่นไม้สีขาวให้เป็นที่สังเกตและนกมองเห็นชัดเจน

2. โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ 
โรงเรือนที่ดีจะต้องมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายแก่ลูกนก เช่น สุนัข แมว ได้เป็นอย่างดี ภายในโรงเรือนควรแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ที่สามารถใช้กกลูกนกได้ห้องละ 10-15 ตัว พื้นที่ประมาณ 0.25-0.5 ตารางเมตร ต่อลูกนก 1 ตัว ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก และจะเพิ่มเป็นตัวละ 2 ตารางเมตร เมื่อลูกนกอายุ 3 เดือน

3. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก 
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 1-4 เดือน คอกเลี้ยงจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพันธุ์พ่อ-แม่พันธุ์ คือ ประกอบด้วยตัวโรงเรือนหรือพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง พื้นที่ภายในโรงเรือนจะใช้ขนาดเฉลี่ย 2-2.5 ตารางเมตร/ตัว และพื้นที่อเนกประสงค์จะใช้พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตร / ตัว การสร้างโรงเรือนควรจะแบ่งออกเป็นคอก ๆ โดยมีรั้วกั้นแบ่งพื้นที่ขนาด 10x25 เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ 10-15 ตัว รั้วควรมีความสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร ใช้ตาข่ายชนิดตาเล็กถี่ซึ่งหัวลูกนกกระจอกเทศไม่สามารถลอดออกมาได้ และต้องสามารถป้องกันสุนัขและแมวได้เป็นอย่างดี รางน้ำและรางอาหารสามารถปรับระดับความสูงได้ และจะต้องอยู่ภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนและแสงแดด เพื่อความสะดวกในการกินอาหารของลูกนกและกระตุ้นความต้องการกินอาหารของลูกนก

4. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 4-14 เดือน นกกระจอกเทศวัยนี้ขึ้นอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ สามารถอยู่รวมกันได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คอกสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก แต่พื้นที่ใช้สอยภายในโรงเรือนจะมากกว่า นกกระจอกเทศวัยนี้ต้องการพื้นที่ภายในโรงเรือนประมาณ 8-10 ตารางเมตร/ตัว ควรจัดแบ่งเป็นฝูงละ 15-20 ตัว จะทำให้การจัดการง่าย โดยนกมีขนาดใกล้เคียงกันจะทำให้นกไม่รังแกทำร้ายกันมากนัก การกินอาหารจะไม่ได้เปรียบและเสียเปรียบกันและยังช่วยทำให้อัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ดังนั้นโรงเรือนควรจะมีขนาด 5x10 เมตร ภายในควรจะมีรางน้ำ รางอาหารไว้เลี้ยงนกอย่างเพียงพอ ส่วนพื้นที่อเนกประสงค์ควรจะมีขนาดกว้างยาว 30-50 เมตร มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาบ้างในตอนกลางวันสำหรับนกได้พักผ่อน การจัดผังคอก เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกพ่อ-แม่พันธุ์

อาหารและการให้อาหาร
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในระบบฟาร์มพืชจึงเป็นอาหารหลักของนกกระจอกเทศ นกกระจอกเทศจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินพืช (Herbivorous) แต่ก็ใช่ว่านกกระจอกเทศจะกินแต่พืชอย่างเดียว แมลงต่างๆ หนอน หรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ นกกระจอกเทศก็จิกกินเช่นกัน เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งไม่สมบูรณ์ สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว หรือแกะอยู่ไม่ได้ แต่นกกระจอกเทศก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้เพราะนกกระจอกเทศสามารถย่อยสลายสารอาหารที่มีกากใยได้สูง 40-60%

กระเพาะของนกกระจอกเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และมีกระเพาะแท้ เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ดังนั้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้เป็นอย่างดี

สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์มอาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องการผลผลิตจากนกกระจอกเทศสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นไข่ เนื้อ หนัง หรือ ขนก็ตาม เนื่องจากต้นทุนในการผลิตจะเป็นค่าอาหาร 60-70% ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์กินพืชและย่อยสลายอาหารที่มีใยสูง ๆ ได้ดี แต่ความต้องการโภชนะก็จะต้องครบถ้วนตรงตามความต้องการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี นกกระจอกเทศกินอาหารข้นในปริมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว
ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตดูจากตัวนกกระจอกเทศเองด้วย ว่ากินอาหารเพียงพอ อ้วนหรือผอมอย่างไร เพราะบางครั้งให้อาหารมาก นกโตเร็ว ขาจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้ขาแบะ และเสียหายได้
เนื่องจากใจแต่ละท้องถิ่นมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จะนำมาใช้ประกอบสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศแตกต่างกันไป แต่เพื่อให้ได้อาหารที่ดี มีคุณภาพ จึงมีข้อควรพิจารณาในการผสมอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศ ดังนี้
1. ต้องตรงกับความต้องการของนกกระจอกเทศในแต่ละรุ่น ขนาดพันธุ์
2. มีความน่ากิน ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะมีต่อมรับรสไม่มากนัก แต่ก็จะเลือกกินอาหารจากลักษณะที่ปรากฏ เช่นสีสัน รูปร่าง หรือกลิ่น
3. ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารหรือยี่ห้ออาหารจากสูตรหนึ่งไปใช้อีกสูตรหนึ่งอย่างทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยเพื่อให้นกกระจอกเทศคุ้นเคยเสียก่อน
4. อาหารควรมีส่วนผสมของเยื่อใยจากพืช ในสูตรอาหารนั้น ๆ ด้วยเพื่อกระตุ้นในการย่อยด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาหารนั้นควรจะมีปริมาณเยื่อใย 15% นอกจากนี้ควรเสริมด้วยหญ้าสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วยก็จะดี

ระบบการย่อยอาหารในลูกนกและนกรุ่นจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นสูตรอาหารควรจะมีเยื่อใยจำกัด แต่มีโปรตีนสูง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ขณะเดียวกันก็จะต้องระมัดระวังเรื่องแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต เพราะจะทำให้ลูกนกอ้วนเกินไป จนทำให้ขารับน้ำหนักไม่ไหว เกิดขาเป๋หรือพิการได้

ตาราง ความต้องการอาหารของนกกระจอกเทศแต่ละอายุ
14น้ำ 
น้ำที่จะให้นกกระจอกเทศกินจะต้องใส สะอาด ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และควรมีน้ำตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลา ปริมาณน้ำที่นกกระจอกเทศกินขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและชนิดของอาหาร ถ้าอากาศร้อนนกกระจอกเทศจะกินน้ำมากกว่าวันที่อากาศเย็น หรือกินอาหารที่มีหญ้าสดผสมอยู่ด้วย ก็จะกินน้ำน้อยกว่ากินอาหารข้นอย่างเดียว แต่โดยเฉลี่ยแล้วนกกระจอกเทศจะกินน้ำวันละประมาณ 9-12 ลิตรสิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ ไม่ควรตั้งภาชนะที่ใส่ไว้ในที่โล่งแจ้งหรือกลางแดด เพราะจะทำให้น้ำในภาชนะนั้นกลายเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนซึ่งนกกระจอกเทศไม่กินน้ำตลอดวัน เป็นสาเหตุให้นกท้องผูกหรือมีโรคอื่น ๆ ตามมา

หิน กรวด
เนื่องจากนกกระจอกเทศไม่มีฟันที่จะใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งทดแทนที่จะช่วยย่อยอาหารที่นกกระจอกเทศกินเข้าไปในสภาพธรรมชาตินกกระจอกเทศจะจิกกินก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทรายหยาบจากพื้นดินเพื่อไปช่วยบดอาหารในกึ๋น ดังนั้น การเลี้ยงในระบบฟาร์มก็จำเป็นจะต้องจัดหาหิน กรวด หินเกร็ดเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกิน แต่จะต้องคอยสังเกตด้วยว่าอย่าให้นกกระจอกเทศกินมากเกินไปจนทำให้ไปอุดตันในระบบทางเดินอาหาร

อาหารสำหรับลูกนกกระจอกเทศ (อายุ 0-3 เดือน) 
ลูกนกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกจะมีอัตราการตายสูงมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากการจัดการและอาหาร ดังนั้นเพื่อการป้องกันการสูญเสียดังกล่าว ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกนกเป็นอย่างดี น้ำ อาหารจะต้องเหมาะสม ครบถ้วนตรงตามความต้องการของลูกนก ในระยะนี้ลูกนกต้องการอาหารที่มีโปรตีน 20% พลังงาน 2,500 - 2,800 กิโลแคลอรี และมีพืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกิน ซึ่งในระยะสองสัปดาห์แรกจะให้ครั้งละน้อย ๆ แล้วเพิ่มปริมาณของหญ้าสดตามอายุของลูกนกที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะปล่อยให้ลูกนกลงไปจิกกินเองในแปลงหญ้าก็ได้ แต่แปลงหญ้านี้จะต้องสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกหล่นอยู่ เช่น ตะปู ลวด กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัย เห็นอะไรตกหล่นอยู่ก็จะจิกกินซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศเป็นอันตรายได้

นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกนกออกไปเดินเล่นและกินหญ้าในแปลงหญ้า จะทำให้ลูกนกได้ออกกำลังกาย ขาก็จะแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งจะได้รับวิตามินดี (D3) จากแสงแดดอีกด้วย

วิธีการให้อาหารลูกนก 
ลูกนกเกิดใหม่จะยังมีไข่แดงอยู่ในช่องท้อง ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อย่อยไข่แดงดังกล่าวนี้ ดังนั้น ในระยะ 3-4 วันแรกที่ลูกนกออกจากไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้กินอาหาร ส่วนใหญ่จะนิยมนำอาหารและน้ำมาตั้งให้ลูกนกกินหลังจากลูกนกออกจากตู้เกิดแล้ว 1-2 วัน ในระยะแรกลูกนกจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงไม่ให้ความสนใจที่จะสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ลูกนกอาจอดน้ำหรืออาหารตาย หรือไม่ก็พิการได้ จึงควรนำลูกนกไปตรงที่ตั้งภาชนะใส่น้ำและอาหาร แล้วจับปากลูกนกให้สัมผัสน้ำและอาหารเพื่อลูกนกจะได้เรียนรู้ ....ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัยและชอบสีสันและชอบสีสันจึงทำให้ในบางครั้งผู้เลี้ยง จะใส่ลูกบอลสีต่าง ๆ หรือลูกปิงปองในภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเพื่อให้ลูกนกสนใจและไปจิกกินอาหารและน้ำ โดยทั่วไปแล้วลูกนกชอบอาหารที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหญ้าสด อาหารสำหรับลูกนกจะประกอบด้วยพลังงาน 2,500-2,800 กิโลแคลอรี โปรตีน 20% แต่มีเยื่อใยต่ำ คือไม่เกิน 7% อัตราส่วนของแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) ต้องเหมาะสมโดยบางครั้งอาจจะเสริมด้วยเปลือกหอยหรือกระดูกป่น

ลูกนกในระยะนี้จะกินอาหารวันละประมาณ 10-40 กรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลูกนกจะต้องการอาหารข้นวันละ 1.5-3% ของน้ำหนักตัว ลูกนกจะมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่งจะทำให้ขาที่มีขนาดเล็กรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ไหว อาจทำให้ลูกนกขาพิการได้จึงควรจำกัดปริมาณอาหารและให้กินอาหารวันละ 2-4 ครั้ง โดยให้กินอาหารครั้งละน้อย ๆ และหมดภายใน 1 ชั่วโมง

หลังจากนั้นอาจให้พืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกนกกินครั้งละน้อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกให้ลูกนกกินเฉพาะส่วนที่เป็นใบ เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น จะกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มาขึ้นถึง 20% ของปริมาณอาหารข้นสำหรับผู้เลี้ยงที่ใช้ผักสดที่เหลือจากตลาด หรือตัดหญ้าตามที่สาธารณะทั่วไปจะต้องระมัดระวังในเรื่องยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืช ซึ่งถ้าไม่แน่ใจควรจะล้างด้วยด่างทับทิมเสียก่อนที่จะหั่นให้นกกิน

ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา โดยจะต้องเป็นน้ำที่ใส สะอาด ภาชนะที่ใส่น้ำและอาหารจะต้องทำความสะอาดทุกวัน อาหารที่เหลือค้างอยู่ในรางจะต้องไม่นำกลับมาใช้อีก และจะต้องระวังไม่ให้ลูกนกจิกกินอุจจาระที่ลูกนกถ่ายออกมาเพราะจะทำให้ท้องเสียหรือเป็นโรคอื่น ๆ ได้ จึงควรที่จะทำความสะอาด เก็บกวาดขึ้นกออกทิ้งบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก

อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-10 เดือน)
.....ในระยะนี้ลูกนกกระจอกเทศต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2,400 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-15% และเยื่อใย 14% และจะกินอาหารวันละ 1.0-1.5 กิโลกรัมแต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มจะอยู่ในอัตราที่ลดลง จึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหาระเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย ....ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศในระยะนี้จะต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อยกว่าในระยะ 3 เดือนแรก แต่ก็ไม่ควรประมาทจนขาดความเอาใจใส่ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพอาหารจะต้องตรงตามความต้องการและมีปริมาณที่เพียงพอ น้ำจะต้องใสสะอาด เสริมอาหารด้วยหญ้าหรือผักสด หรือปล่อยให้นกกระจอกเทศไปจิกกินเองในแปลงหญ้า ที่สำคัญต้องหมั่นตัดหญ้าให้สั้นอยู่เสมอ เพราะนกกระจอกเทศชอบกินหญ้าที่ต้นสูงไม่เกิน 5 นิ้ว และนกจะจิกกินเฉพาะส่วนส่วนปลายใบเท่านั้น


อาหารสำหรับนกกระจอกเทศขุน (อายุ 11-14 เดือน)

นกกระจอกเทศที่อายุ 8-10 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 65-95 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อาหาร และการจัดการ สำหรับนกกระจอกคอแดง อายุ 10 เดือน น้ำหนักอาจจะถึง 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถส่งตลาดได้แล้ว

ในบางแห่งจะซื้อขายกันที่น้ำหนัก 90-95 กิโลกรัม แต่บางแห่งอาจจะต้องการที่น้ำหนัก 100-110 กิโลกรัม อาหารที่นกกระจอกเทศระยะนี้ต้องการคือ มีพลังงาน 2,400-2,500 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 12-16% และเยื่อใย 16% .....ระยะนี้นกกระจอกเทศจะกินอาหารวันละ 1.5-2.0 กิโลกรัม ทั้งนี้หญ้าหรือพืชผักจะต้องมีให้กินหรือจะปล่อยในแปลงหญ้าก็ได้ และที่ขาดไม่ได้ คือ น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา

ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศจะสามารถทำการขุนนกกระจอกเทศได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องน้ำหนักตัวกับขาเป็นพิเศษแต่ถ้าขุนที่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไปจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะนกกระจอกเทศมีพัฒนาการของขาดีมากแล้ว

สำหรับนกกระจอกเทศที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์นั้น ในช่วงอายุ 14 เดือนขึ้นไปถึงก่อนไข่ เป็นช่วงที่นกกระจอกเทศไม่ให้ผลผลิตแต่อย่างใดและเป็นช่วงที่นกโตเต็มที่แล้ว ผู้เลี้ยงสามารถลดคุณภาพอาหารลงได้ เพราะนกต้องการอาหารแค่ดำรงชีพเท่านั้น โดยอาจจะให้อาหารที่มีโปรตีน 12-14% พลังงาน 2,000-2,200 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เยื่อใย 18-20% ให้กินวันละ 1,200-1,500 กิโลกรัม และมีผัก หญ้าสด เสริมให้มากขึ้น แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

ตาราง อัตราการเจริญเติบโตของนกกระจอกเทศที่อายุต่าง ๆ
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป) 
อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วย พลังงาน 2,400-2,600 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-16% และเยื่อใย 16% ซึ่งการให้อาหารนกกระจอกเทศในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ช่วงผสมพันธุ์ (Breeding Season)
2. นอกฤดูผสมพันธุ์ (Off Season)

นกกระจอกเทศในช่วงผสมพันธุ์จะมีความต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการสร้างไข่ ซึ่งถ้าอาหารดีตรงตามความต้องการจะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์สมบูรณ์และให้ผลผลิตไข่ที่มีเชื้อดีด้วย เพราะพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีจะสามารถพิจารณาได้จาก
-ให้ผลผลิตไข่มาก
-เปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อสูง
-อัตราการฟักออกเป็นตัวมาก
-อัตราการเลี้ยงรอดมาก ลูกนกกระจอกเทศแข็งแรง

นอกจากนี้จะต้องพิจารณาอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสด้วย (Ca:P) โดยทั่ว ๆ ไปอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะเท่ากับ 1:0.5-0.6 าในสูตรอาหารมีแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้ไปหยุดยั้งการทำงานของแมงกานีสและสังกะสีซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการมีเชื้อของไข่ ....สำหรับอาหารนกกระจอกเทศนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นอาหารที่กินเพื่อดำรงชีพนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีมากนัก สามารถให้พืชหญ้าได้มากขึ้น จนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์อีกจึงจะขุนให้นกกระจอกเทศมีร่างกายสมบูรณ์ แต่ไม่อ้วนเกินไป เพราะถ้านกอ้านมาก จะทำให้มีไขมันไปเกาะอยู่ตามระบบสืบพันธุ์ เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง

การผสมพันธุ์
นกกระจอกเทศจะถึงวัยหนุ่มสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อตัวผู้อายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพ่อ-แม่พันธุ์นกกระจอกเทศมีความสมบูรณ์แข็ง แรง มีการจัดการที่ดี จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี

เมื่อฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้จะมีปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีแดงเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเทาเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียหลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป การเลี้ยงในระบบฟาร์มจะจัดตัวเมียให้เป็นคู่ผสมพันธุ์เพียง 1-3 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์

นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการพร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยการนั่งลงบนพื้นบนข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไป ตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการโดยจะกางปีกออำสั่น แต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้

นกกระจอกเทศแสดงอาการเป็นสัด

วิธีผสมพันธุ์ 
เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้นแต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้งขึ้น แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียและใช้เท้าขวาเหยียบ
หลังตัวเมีย ส่วนเท้าซ้ายจะอยู่ข้าง ๆ ตัวแม่นกเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1-3 นาที ฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศในเมืองไทยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนของปีถัดไป การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นกับ
1. อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
2. ความสมบูรณ์ของนก
3. อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม

ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของคู่ผสมพันธุ์ ให้พิจารณาจาก
1. ปริมาณไข่ต่อปี
2. อัตราของไข่มีเชื้อ
3. อัตราการฟักออกเป็นตัว

การฟักไข่ของนกกระจอกเทศ 
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเจริญเติบโต
ของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดระยะฟักจนออกมาเป็นตัวลูกนก การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธี คือ

1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator)

การฟักไข่แบบธรรมชาติ
แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่ในบริเวณที่โล่งแจ้งบนเนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่

แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด ชุดละประมาณ 12-18 ฟอง หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน

ในช่วงเวลาที่พ่อ-แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี้เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ-แม่นกกระจอกเทศระหว่างการฟักไข่จะอยู่ระหว่าง 34-36 ํC ความชื้นประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน

การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่ 
โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน หรือ 2-2.7 วัน ต่อฟอง ดังนั้นหากในแต่ละ ชุดผสมพันธุ์ ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัว ต่อแม่นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แม่นกจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกันหรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ ....เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่มาแล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ซึ่งจะทำให้ไข่เสีย และมีผลทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้

หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศหรือไข่ที่ไม่มีเชื้อ มาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในทีเดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40-80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟองต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 ตัว

นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรีโดยมีความกว้างและยาวเกือบจะเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นได้ชัดเจน ขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไปประมาณ 11-15%

วิธีการเลือกฟักไข่ 
ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์ จึงย่อมมีผลทางการสืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของระบบสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและลักษณะเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกฟักไข่ 
-ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
-พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
-ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟัก คือ เปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไข่ ไม่ขรุขระ รูปไข่ไม่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น

การเก็บรักษาไข่ฟัก
ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผู้เลี้ยงควรจะรีบเก็บไข่ออกทันที และเมื่อรวบรวมไข่จนครบทุกคอกแล้ว ควรจะทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย ก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ แล้วนำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 20-23 ํC เพื่อรอนำเข้าตู้ฟักไข่ และจะเก็บไว้นานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่รอเข้าฟักนี้ควรที่จะมีการกลับไข่ด้วย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกร้าว

ในการเก็บรักษาไข่ฟักนี้ ควรจะวางตั้ง เอาด้านป้านขึ้น ด้านแหลมลง แต่ก็มีบางฟองที่ไข่มีลักษณะกลมมนทั้งสองด้าน ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาให้ดีด้วย ส่วนอุณหภูมิและความชื้นที่ห้องเก็บไข่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าอุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสมจะทำให้น้ำในไข่ระเหยออกมามาก จะทำให้การพัฒนาของเชื้อตัวอ่อนไม่ดี มีผลให้เชื้อตายก่อนจะเข้าตู้ฟัก ที่อุณหภูมิ 23-33 ํC น้ำหนักไข่จะสูญเสียไปสัปดาห์ละ 1 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักไข่

การล้างไข่ 
ในการฟักไข่เป็ดหรือไข่ไก่มักจะไม่ทำการล้างไข่ก่อนเก็บเพื่อรอเข้าตู้ฟักแต่สำหรับไข่นกกระจอกเทศแล้ว จะทำทั้งการล้างไข่และไม่ล้าง ซึ่งก็มีเหตุผลและความเชื่อแตกต่างกันไป บ้างก็เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในไข่ทำให้ไข่เน่า แต่สำหรับพวกที่ล้างไข่ก็เพื่อให้มั่นใจว่าไข่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค จุลินทรีย์เกาะอยู่บนเปลือกไข่ แล้วซึมเข้าไปภายใน ซึ่งจะทำให้ไข่เน่าหรือเชี้อตาย

การล้างไข่จะทำทันทีที่เก็บไข่ออกมาจากคอกนก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อผสมในน้ำอุ่น (39.5-40.5 ํC) นำไข่ลงไปล้าง แล้วใช้แปรงขนอ่อนขัดบนเปลือกไข่ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งโดยไม่ต้องใช้ผ้าเช็ด สำหรับน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะใช้ล้าง ไข่ได้ไม่เกิน 6 ฟอง เมื่อเปลือกไข่แห้งแล้วให้นำเข้าไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บเพื่อรอการเข้าฟักต่อไป


การรมควัน (Fumigation) 
การรมควันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฆ่าเชื้อที่เปลือกไข่ โดยใช้โปรเตสเซียมเปอมังกาเนต (KMnO4) 80 กรัม ใส่ถาดสังกะสีหรือถ้วยดิน แล้วนำฟอร์มาลีน (40%) ประมาณ 130 มิลลิลิตร สำหรับตู้ขนาด 3 ตร.ม. เทใส่ถ้วยดังกล่าวจะเกิดก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ขึ้น ควรจะรีบปิดตู้รมควันทันที ทิ้งไว้ 20-30 นาที จึงไปเปิดตู้ ทิ้งไว้สักครู่ จึงนำไข่เข้าไปเก็บในห้องเก็บไข่

เนื่องจากไข่ถูกเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 20-30 ํC มาเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ จะต้องนำไข่ที่เก็บไว้ออกมาไว้นอกห้องเย็นอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่ปรับตัวเข้าสู่อุณหภูมิของไข่ฟักเปลี่ยนแปลงจากเย็นเป็นร้อนอย่างกระทันหัน จะทำให้เชื้อตายได้


การฟักไข่ 
หลักใหญ่ของการฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำสิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนกเพื่อให้เปอร์เซนต์ฟักออกมาเป็นตัวลูกนกกระจอกเทศให้มากที่สุด

ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดี คือ 
1. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่เหมาะสมที่ช่วยให้เชื้อลูกนก และออกจากไข่อย่างปกติ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะประมาณ 35.5-36.3 องศาเซลเซียส หรือ 97.2-97.5 องศาฟาเรนไฮน์ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเอกสารประกอบการใช้ตู้ฟักไข่ชนิดนั้น ๆ ด้วย ซึ่งความร้อนมีความสัมพันธ์กับเชื้อลูกนก ดังนี้
1.1 เปอร์เซ็นต์การฟักออกมากหรือน้อย
1.2 การฟักออกช้าหรือเร็ว
1.3 ขนาดของเชื้อลูกนกระหว่างฟัก ถ้าความร้อนต่ำเชื้อลูกนกจะเจริญเติบโตช้า
1.4 ขนาดของลูกนกที่ฟักออก การเร่งความร้อน หรือใช้ความร้อนสูงไป ลูกนกจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ลูกนกที่มีขนแห้งเกรียน และขนาดตัวเล็ก
1.5 เปอร์เซ็นต์เชื้อตาย และอัตราการตายของลูกนกสูงมากถ้าใช้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ
1.6 ถ้าใช้ความร้อนต่ำไป ลูกนกจะออกมาช้า เปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำลูกนกจะอ่อนแอ
2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ 20-25% ช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกเป็นไปโดยปกติ หากความชื้นน้อยไปลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก

การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%

-การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้าเป็นตู้ฟักระบบอัตโนมัติจะตั้งให้กลับไข่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
-การส่องไข่ (Candling) ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ฟองอื่น ๆ ด้วย

สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2-3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้ง เมื่อฟักไปแล้ว 20-21 วัน และครั้งสุดท้ายก่อนจะย้ายไปยังตู้เกิด (ประมาณวันที่ 38 ของการฟัก)

เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็งมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลังไฟสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่เล่นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจากเครื่องส่องไข่จะมีผลต่อตัวอ่อนในไข่ได้

การเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุต่างๆ
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์ 
นกกระจอกเทศจะใช้เวลาฟักไข่นาน 42 วัน จึงออกเป็นตัว ซึ่งการฟักไข่ในตู้ฟักจะช่วยเหลือลูกนกกระจอกเทศให้ออกไข่ง่ายขึ้น เมื่อลูกนกกระจอกเทศออกจากไข่จะต้องอยู่ในตู้ที่เรียกว่าตู้อบประมาณ 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวแห้งและแข็งแรง หลังจากนั้นจึงนำออกมาเลี้ยงในโรงเรือนอนุบาล ลูกนกกระจอกเทศต่อไป ซึ่งในโรงเรือนอนุบาลจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. เครื่องกกลูกนกกระจอกเทศ
2. แผงล้อมลูกนกกระจอกเทศ
3. ที่ให้อาหาร
4. ที่ให้น้ำ
5. วัสดุรองพื้น ควรใช้แกลบ ฟางแห้ง ผ้า หรือกระสอบ

การปฏิบัติการในการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม และทำความสะอาดพื้นคอกบริเวณที่เลี้ยงลูกนก โดยการฆ่าเชื้อ ปูพื้นคอกด้วยแกลบหรือฟางแห้งหรือผ้ากระสอบ

พื้นคอกถ้าเป็นพื้นซีเมนต์จะทำความสะอาดได้ง่าย แต่ต้องระวังนกลื่น ปูทับด้วยวัสดุรองพื้นพวกแกลบ ฟางแห้ง กระสอบ หรือผ้า ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกก นอกจากนี้ออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นจะต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว

สำหรับเครื่องกกลูกนกจะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยว่าใช้งานได้ดี อุณหภูมิกกคงที่โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 35 ํ C หรือ 95 ? F ในช่วง 2 วันแรก และลดอุณหภูมิลงทุกสัปดาห์จนเหลือ 21-23 ? C หรือ 69-73 ํ F เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ไฟกกจะต้องอยู่สูงจากหัวนกขนาดลูกนกยืดคอไม่ถึง ปกติลูกนกกระจอกเทศเมื่อออกจากไข่ในระยะเวลา 2-3 วันแรก หรือ 24-36 ชั่วโมงหลังออกจากตู้อบ ไม่มีความจำเป็นที่จะให้อาหารลูกนก ช่วงนี้จะเป็นอันตรายทำให้ลูกนกตาย เพราะอาหารที่ลูกนกกินเข้าไปจะไม่ย่อย

ดังนั้นจึงควรให้อาหารหลังจาก 2 วันแรกไปแล้ว โดยอาหารที่มีโปรตีน 20-22 % พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ควรจะมีหญ้าสดสับหรือหั่นฝอยเสริมให้ลูกนกกินโดยผสมปนกับอาหารข้นในอัตราส่วน อาหารข้น 5 ส่วน ต่อหญ้าสดสับ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก และผสมด้วยกรวดขนาดเล็กหรือหินเกล็ดลงในอาหารผสมประมาณ 1.5 % โดยน้ำหนักอาหาร ซึ่งลูกนกจะใช้ในการย่อยบดอาหารในกระเพาะต่อไป หรือจะตั้งกรวดหรือหินขนาดเล็ก ไว้ให้ลูกนกกินเองก็ได้

เนื่องจากลูกนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารและน้ำจะใส่ลูกปิงปอง หรือลูกบอลที่ไม่ใช้แล้วลงไปด้วยประมาณ 2-3 ลูก เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารและน้ำไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น

การให้น้ำแก่ลูกนกกระจอกเทศ 
ในช่วงแรกลูกนกยังไม่รู้จักภาชนะให้น้ำ การปล่อยปละละเลยไม่ฝึกลูกนกอาจจะมีผลทำให้ลูกนกไม่ได้กินน้ำและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องฝึกลูกนกโดยจับลูกนกไปที่ภาชนะที่ให้น้ำ แล้วจับปากลูกนกจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ทำเช่นนี้ทุกตัว น้ำที่ให้ในระยะแรกนี้ควรเสริมวิตามินและละลายน้ำที่ใช้กับลูกไก่ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดผสมให้ลูกนกกินด้วยก็จะดีในช่วงนี้จะต้องดูแลเอาใจใส่
เกี่ยวกับ อุณหภูมิในการ กกลูกนก ลูกนกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3-4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ และควรลดอุณหภูมิในการกกลงสัปดาห์ละ 3-5 องศาฟาเรนไฮด์ โดยปกติจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 3-4 สัปดาห์ กรณีอากาศหนาวมากควรเพิ่มระยะเวลากกยาวออกไปอีก ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย

การเลี้ยงนกกระจอกเทศในระยะ 1 สัปดาห์แรก ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อลูกนกอายุเกิน 1 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะลดชั่วโมงการให้แสงสว่างลงเหลือ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์ อาจเปิดไฟเฉพาะในเวลากลางคืนก็พอ

ลูกกระจอกเทศแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 830-1,000 กรัม ซึ่งลูกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์ จะโตขึ้นจากเดิม 1 ฟุต หนักประมาณ 900-2,800 กรัม อัตราการเจริญเติบโตของลูกนกกระจอกเทศจะสูงขึ้นประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจึงจะลดลงหรือหยุด

ในการเลี้ยงควรจะตรวจดูวัสดุรองพื้นคอก จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น ถ้ามีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนียจะต้องรีบแก้ไขทันที โดยเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ภายในห้องกกควรจะมิดชิดไม่มีลมโกรกเข้ามา แต่จะต้องมีการระบายอากาศออก ให้ภายในห้อง

ดังนั้นจึงควรเข้มงวดในเรื่องของการสุขาภิบาลในโรงเรือนอนุบาลให้เป็นอย่างดี ลูกนกจึงจะแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว

ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่มีสุขภาพปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อนนุ่ม ไม่แห้งแข็งหรือเป็นเม็ดเหมือนอุจจาระแพะ ปัสสาวะของนกกระจอกเทศจะต้องเป็นน้ำใส ไม่เหนียวหรือขุ่นข้น


การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 1-3 เดือน 
ลูกนกกระจอกเทศเมื่ออายุครบ 1 เดือน และมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ควรจะปิดเครื่องกกขยายพื้นที่ในคอกอนุบาลให้ลูกนกได้อยู่อย่างสบาย ลดชั่วโมงการให้แสงสว่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้นกตื่นตกใจ นกกระจอกเทศวัยนี้จะตกใจง่าย ในเวลากลางวันควรจะมีพื้นที่ปล่อยลูกนกออกเดินเล่นในลานที่มีแสงแดดรำไรในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ ภาชนะให้น้ำและอาหารควรจะทำความสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตรวจสอบวัสดุรองพื้นคอกทุกวัน

การให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง คือ ให้อาหารวันละ 3-5 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยให้ลูกนกได้รับอาหารที่ใหม่สด ซึ่งจะต้องผสมหญ้าสดหรือผักสดผสมในอาหารข้นหรืออาจจะแยกให้อาหารข้นและเสริมให้กินผักสด หรือหญ้าสดหั่นละเอียดแยกให้กินต่างหาก

สำหรับน้ำควรจะมีให้นกกินตลอดเวลา ลูกนกวัยนี้จะตายได้ง่ายเพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็ว อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว ขาของลูกนกกระจอกเทศจะแบะออก เดินขาปัด จนเดินไม่ได้ และจะตายในที่สุด จึงจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก

วิธีแก้ไข ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะต้องใช้ผ้ายืดหรือผ้าอีลาสติก สวมขาทั้ง 2 ข้างไว้ไม่ให้ขาลูกนกแบะถ่างออก พร้อมเสริมอาหารให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงขึ้น ขณะเดียวกันควรจะลดปริมาณอาหารลงด้วย ซึ่งการเลี้ยงระยะนี้ผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศทุกวัน

กรณีมีอาการผิดสังเกตให้รีบแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องแยกลูกนกที่มีปัญหาออกมาเลี้ยงต่างหาก แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนกอยู่ตัวเดียว ควรจะหาลูกนกตัวอื่นเป็นเพื่อนด้วย ไม่เช่นนั้นลูกนกจะยิ่งเครียดมากขึ้น ตามปกติเมื่อลูกนกกระจอกเทศอายุได้ 3 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 12-21 กิโลกรัม

การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 3-24 เดือน 
นกกระจอกเทศในช่วงอายุ 0-6 เดือน จะเจริญเติบโตเร็วมากหลังจากนั้น อัตราการเจริญเติบโตจะลดลงเล็กน้อย ต้องเอาใจใส่ในเรื่องอาหารและการจัดการได้ดี อาหารไม่ควรมีพลังงานสูงมากนัก อาหารที่เหมาะสมควรจะมีโปรตีน 16% พลังงาน 2,300-2,400 กิโลแคลอรี่ พร้อมเสริมให้กินหญ้าหรือผักสดหั่นเล็ก ๆ นกกระจอกเทศจะชอบกินเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสับละเอียดมากเป็นพิเศษ ซึ่งการให้อาหารจะให้แบบแยกอาหารข้น หรือใช้วิธีการคลุกผสมให้นกกระจอกเทศกิน อัตราส่วนผสมควรจะใช้อาหารข้น 3 ส่วนต่อหญ้าสดหั่นละเอียด 1 ส่วนโดยน้ำหนัก

ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราส่วนได้ ขึ้นกับสภาพความสมบูรณ์ของนกกระจอกเทศ ซึ่งถ้าลูกนกอายุเกินกว่า 6 เดือน อาจจะต้องปรับส่วนผสมโดยเพิ่มพืชอาหารสัตว์ประเภทเยื่อใยให้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารข้นให้น้อยลง โดยคำนึงถึงความต้องการของร่างกายและสุขภาพของนกกระจอกเทศ

การเลี้ยงนกในวัยนี้จะต้องให้มีพื้นที่ออกกำลังกายอย่างอิสระและเพียงพอ ไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่ ควรจะแบ่งออกเป็นฝูงเล็กมีจำนวนไม่เกิน 40 ตัว แต่การจัดฝูงให้เล็กประมาณ 15-20 ตัว/ฝูง จะเหมาะสมที่สุด เพราะจำทำให้ลูกนกแข็งแรงไม่แย่งอาหารกันกิน และไม่แน่นเกินไป

พื้นที่ที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจะต้องระมัดระวังไม่ให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษลวดผูกเหล็กก่อสร้าง ตะปู เศษถุงพลาสติก เศษแก้ว เศษผ้า ตกหล่น ในบริเวณคอกและพื้นที่เลี้ยง เพราะนกกระจอกเทศจะสนใจและจิกกินเข้าไป ซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการเลี้ยงนกกระจอกเทศในอายุระหว่างนี้ คือ อัตราส่วนพื้นที่ทั้งภายในโรงเรือนหรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง จะต้องจัดให้เพียงพอไม่คับแคบเกินไป การแออัดจะเป็นผลเสียทำให้เกิดการเสียหายได้ และพื้นที่ของภาชนะให้น้ำและอาหารจะต้องเพียงพอกับปริมาณนกกระจอกเทศที่เลี้ยง ไม่ให้มีการแย่งอาหารกันเกิดขึ้น

การเสริมหินเกล็ดหรือกรวด ในอาหารอัตรา 1.5 % โดยน้ำหนักหรือใส่ภาชนะให้นกกระจอกเทศเลือกกินเอง เมื่อนกกระจอกเทศอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้แสงสว่างในเวลากลางคืน แต่จะต้องระวังให้ลูกนกอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาและฝาผนังมิดชิดนอนเวลากลางคืน เพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝน ลม พายุ และสัตว์ร้ายที่เป็นศัตรูนกกระจอกเทศ อีกอย่างหนึ่งคือ สุนัขซึ่งจะทำอันตรายนกกระจอกเทศในเวลากลางคืน

สำหรับเวลากลางวันควรปล่อยให้นกอยู่ในพื้นที่โล่งกลางแจ้งอย่างอิสระสามารถเข้าออกโรงเรือนได้ภาชนะให้น้ำและอาหารควรอยู่ในโรงเรือนอันเป็นการป้องกันฝนและแสงแดด ในกรณีที่มีพายุฝนควรจะต้อนนกกลับเข้าคอกภายในโรงเรือน ไม่ควรให้นกเล่นน้ำฝนเพราะจะทำให้เป็นหวัดหรือปอดบวมตายได้

การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปี ขึ้นไป) 
นกกระจอกเทศเมื่ออายุได้ 2 ปี จะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวซึ่งจะเจริญพันธุ์ผู้เลี้ยงควรจะทำการจัดฝูงใหม่ให้เป็นฝูงผสมพันธุ์ โดยการคัดเลือกนกกระจอกเทศที่มีลักษณะดี อัตราการเจริญเติบโตดีแข็งแรง เก็บไว้ในการขยายพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

ดังนั้นการคัดเลือกนกกระจอกเทศเก็บไว้ทำพันธุ์ควรจะคัดเลือกเมื่ออายุ 1 ปี แต่การเลี้ยงดูยังคงรวมฝูงใหญ่เหมือนเดิม จนกว่าอายุได้ 2 ปี จึงคัดเลือกอีกครั้ง แบ่งฝูงเป็นฝูงผสมพันธุ์ประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2-3 ตัว ซึ่งนกกระจอกเทศอายุ 2 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 110-140 กิโลกรัม นกจะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้โดยเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้อายุ 2-5 ปีขึ้นไป และสามารถให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันได้นานถึง 40 ปี แต่จะนิยมเลี้ยงเพียง 20-25 ปี

การที่จะให้นกมีความสมบูรณ์พันธุ์ให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการเลี้ยงดูการจัดการที่ดี อาหารสำหรับพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงระยะฤดูผสมพันธุ์ควรจะเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสอีก 1-2% เพราะแม่นกจะต้องการแคลเซียมในการสร้างเปลือกไข่ อาหารควรจะให้อย่างเพียงพอ ควรให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง โดยจะต้องเสริมหญ้าสดด้วย พร้อมทั้งมีหินเกล็ดไว้ให้นกได้จิกกินด้วยเพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่กระเพาะบด

ภาชนะที่ให้อาหารและน้ำจะต้องทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำสะอาดตั้งให้กินตลอดเวลา พื้นที่ในการเลี้ยงจะต้องกว้างขวางพอที่จะให้นก ได้ออกกำลังกายได้ ปกตินกจะเริ่มผสมพันธุ์โดยมีฤดูการผสมพันธุ์ในช่วงอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยสีหนังของนกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง โดยเฉพาะบริเวณคอและขา แม่นกเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะออกไข่โดยพ่อ-แม่นกจะขุดเป็นหลุมตื้น ๆ ขนาดเท่าตัวแม่นกไว้ให้วางไข่ และจะออกไข่เฉลี่ย 2-2.7 วัน/ ฟอง ตลอดฤดูผสมพันธุ์จะให้ไข่ประมาณ 30-80 ฟอง มากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ความสมบูรณ์ และอายุของแม่นกกระจอกเทศ โดยในปีแรกแม่นกจะให้ไข่ไม่มากนัก แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป

การเก็บไข่ควรเก็บไข่ออกทุกวัน หรือทันทีที่แม่นกวางไข่ และนำไปรวบรวมไว้ ในห้องที่มีอุณหภูมิได้ประมาณ 20-24 ํ C ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% ถ้าความชื้นสูงจะมีผลทำให้ไข่เน่าเสียได้ง่าย ในรังไข่ที่แม่นกออกไข่ควรจะต้องมีไข่ปลอมวางไว้อย่างน้อย 1 ฟอง เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศจำรังไข่และออกไข่ที่เดิม ติดต่อไปเรื่อย ๆ ช่วงออกไข่นี้นกกระจอกเทศจะมีความดุร้ายโดยเฉพาะพ่อพันธุ์เพราะหวงไข่มาก

นอกจากนี้ คอกผสมพันธุ์ที่ดีระหว่างคอกควรจะมีรั้วห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพราะป้องกันอันตรายจากการจิกตีกันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่อยู่กันคนละคอก

การเลี้ยงดูนกกระจอกเทศในวัยระยะต่าง ๆ ที่ผู้เลี้ยงควรจะจัดทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย การให้ผลผลิต การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน การเริ่มต้นผสมพันธุ์ การให้ไข่ สุขภาพของนก และ ฯลฯ ที่สามารถจัดทำให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงดูหรือปรับปรุงการเลี้ยงดูให้ดีขึ้น กรณีมีปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง การบันทึกจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะทำแบบฟอร์มการจัดการต่าง ๆ ออกเป็นชุด ๆ เพื่อความเป็นระเบียบในการค้นคว้าศึกษาข้อมูล และปรับปรุงการจัดการฟาร์มให้ดีขึ้นต่อไป
ชื่อ

1-2 เดือน,1,1-2 ปี,1,1-2 สัปดาห์,1,2000 ปี,1,5แสน-ไม่เกิน1ล้าน,20,กบ,1,กระท่อม,9,กว่าง,1,กะทิ,1,กะปอม,1,กะหล่ำดาว,1,การตอนกิ่งด้วยน้ำ,1,การประมง,3,การปลูกผักพืชสวนครัว,1,การปลูกผักไร้ดิน,1,การปลูกมะละกอ,1,การเลี้ยง,3,การเลี้ยงกุ้งเครฟิช,1,การเลี้ยงปลา,1,การเลี้ยงปลาเงิน,1,การเลี้ยงปลาดุก,1,กำจัดหญ้า,1,กิ้งก่า,1,กุ้ง,1,กุ้งเครฟิช,1,กุดจี่เบ้า,1,เกษตร,113,เกษตรกร,5,เกษตรกรคนรุ่นใหม่,2,เกษตรพอเพียง,21,แก้กระดูกเสื่อม,1,แก้โรคมะเร็ง,1,แก้วกาญจนา,1,แก้วมังกร,1,ไก่,4,ไก่ไข่,1,ไก่ตีนโต,4,ไก่พื้นเมือง,1,ไก่อารมณ์ดี,1,ข้าว,1,ข้าวเหนียวมะม่วง,1,ขิงประดับ,1,เขียวหมื่นปี,1,ไข่,1,ไข่น้ำ,1,ไข่ผำ,1,ไข่แหน,1,ครัว,1,ครัวไทย,1,คลาสสิค,1,คลิป,1,ความรู้,33,คืนชีพยางรถยนต์,1,เครื่องดื่ม,1,แคนตาลูป,1,โคกหนองนา,4,โคกหนองนาโมเดล,4,งาดำ,1,งานไม้,1,จัดการแมลง,1,จัดสวน,11,จากหม่อมหลวง,1,จิ้งโกร่ง,1,จินซิง,1,จิโป่ม,1,ชมจันทร์,1,ชมสวน,1,ชะอม,1,ชัว,1,ชำกิ่งไผ่,1,เช็ก,1,เช็กแล้วแชร์,1,แชร์,27,ฌาบูชีกาบา,1,ด้วยวิธีธรรมชาติ,1,ดอกข่า,1,ด้านป่าไม้,1,ตกแต่งบ้าน,1,ต้นไทรใบสัก,1,ต้นแบบเรียนรู้,1,ต้นไผ่ยักษ์,1,ต้นไม้ 4,1,ต้นไม้จัดสวน,1,ต้นสำมะงา,1,ตอนกิ่ง,2,ตัดใบ,1,ต้านเบาหวาน,1,ต่ำกว่า5แสน,10,เต่า,1,เต่าอัลดาบร้า,1,ถอดบัญชีคุมสมุนไพรวัตถุอันตราย,1,ถังให้อาหาร,1,ถั่วฝักยาว,1,ทางรอดเกษตรกร,2,ทาวน์เฮาส์,1,ทำเงิน,1,ทุเรียน,2,เทคนิคการปลูกกะเพราไร้ดิน,1,แทนกล่องโฟม,1,แทนพลาสติก,1,ไทยประยุกต์,1,นกกระจอกเทศ,1,นกกระจิบ,1,นกหยิบ,1,นา,4,น้ำกระชาย,1,ในกระถาง,1,บ่อปลาคราฟ,2,บ่อเลี้ยงปลา,2,บัวแดง,1,บ้าน,148,บ้านกลางป่า,1,บ้านกลางเมือง,1,บ้านเก่า,1,บ้านต้นไม้,3,บ้านตากอากาศ,3,บ้านตู้คอนเทนเนอร์,2,บ้านไทยประยุกต์,1,บ้านพักตากอากาศ,1,บ้านมูจิ,1,บ้านไม้,18,บ้านไม้กลางทุ่ง,1,บ้านรถ,2,บ้านริมทะเล,2,บ้านลอยน้ำ,3,บ้านสวน,1,บ้านหิน,1,บ้านอิฐ,1,เบี้ยคนชรา,1,แบบบ้าน,124,แบบบ้านชั้นครึ่ง,8,แบบบ้านชั้นเดียว,97,แบบบ้านสองชั้น,49,แบบเล้าไก่ไม้ไผ่,1,ประดู่หางดำ,1,ประเทศลาว,1,ประโยชน์ของทุเรียน,1,ปลดหนี้หลักล้าน,1,ปลาช่อน,2,ปลาช่อนยักษ์อเมซอน,1,ปลาดุก,1,ปลาทอง,1,ปลาทับทิม,1,ปลานิล,1,ปลามังกร,1,ปลูก,6,ปลูกกะเพราไร้ดิน,1,ปลูกขิงแดง,1,ปลูกชะอมในเข่ง,1,ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง,1,ปลูกทุเรียนในกระถาง,1,ปลูกในห้องนอน,1,ปลูกผักในกระถาง,1,ปลูกผักบุ้งในโอ่ง,1,ปลูกผักสวนครัว,1,ปลูกพลู,1,ปลูกมันหวาน,1,ปศุสัตว์,5,ปั๊มน้ำ,1,ปั๊มน้ำสูญญากาศ,1,ป่าไม้,1,ปีนต้นไม้,1,ปู,1,ปูดำ,1,ปูนเปลือย,4,ปูหิน,1,เป็ด,1,เปลือกกล้วย,1,แปรรูปผล,1,โปร่งฟ้า,1,ผลไม้,7,ผัก,2,ผัก 11 ชนิดงอกใหม่ได้,1,ผักบุ้ง,1,ผักพื้นบ้าน,1,ผักสลัด,1,ผำ,1,ผึ้ง,1,พลังงานแสงอาทิตย์,1,พืชผัก,7,เพลิงหมาแหงน,3,แพะ,1,ฟักข้าว,1,ฟาร์มกี้,1,มะเขือเปราะ,1,มะเขือพวง,1,มะนาวลูกดก,1,มะพร้าว,2,มะพร้าวน้ำหอม,2,มะพร้าวน้ำหอมสีทอง,1,มะม่วง,2,มะม่วงกะล่อน,1,มะม่วงโบก,1,มะละกอ,1,มากกว่า1ล้าน-ไม่เกิน2ล้าน,15,มากกว่า2ล้าน-ไม่เกิน4ล้าน,10,มุมระเบียง,1,แมลงตัวห้ำ,1,โมร็อกโก,1,ไม้จัดสวน,1,ไม่ใช้น้ำมัน,1,ไม่ใช้ไฟฟ้า,1,ไม้ฟอกอากาศ,1,ยางนา,1,ยีราฟนอน,1,ระบบน้ำหยด,1,รีสอร์ท,1,ลดน้ำตาลในเลือด,1,ลอฟท์,1,ลาวใต้,1,ลูกเจี๊ยบ,1,ลูกสำรอง,1,เล็บครุฑลังกา,1,เลี้ยง,2,เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์,1,เลี้ยงกุ้งยักษ์ในบ่อซีเมนต์,1,เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี,1,เลี้ยงจิ้งหรีด,2,เลี้ยงปลา,1,เลี้ยงปลาช่อน,1,เลี้ยงปลาดุก,1,เลี้ยงผึ้ง,1,เลี้ยงหนู,1,เลี้ยงหอย,1,เลี้ยงหอยทาก,1,วิถีชีวิต,1,วิธีการเพาะสะระแหน่ในตะกร้า,1,วิธีกำจัดตะขาบ,1,วิธีขยายพันธุ์,1,วิธีขยายพันธุ์ไม้,1,วิธีบังคับมะม่วง,1,วิธีลดน้ำหนัก,1,วีดีโอ,8,ไวน์ไผ่,1,ศัตรูพืช,1,ศูนย์,1,เศรษฐกิจพอเพียง,1,สตอเบอรี่,1,สไตล์ของยุโรป,2,สไตล์คลาสสิค,2,สไตล์คอนเทมโพรารี,1,สไตล์คันทรี,1,สไตล์ญี่ปุ่น,1,สไตล์ทรอปิคอล,1,สไตล์มินิมอล,1,สไตล์โมเดิร์น,61,สไตล์ลอฟท์,2,สไตล์วินเทจ,1,สไตล์สแกนดิเนเวียน,1,สมุนไพร,2,สวน,10,สวนกระถางแตก,1,สวนสวย,8,สะระแหน่,1,สัญจร,1,สัตว์,6,สัตว์เลื้อยคลาน,1,สับปะรด,1,สาระความรู้,29,สารเเหน่,1,สุขภาพ,5,สุดสายปลายน้ำโขง,1,สูตร,6,สูตรทุเรียนเทศ,1,สูตรอาหาร,1,หน่อไม้ฝรั่ง,1,หนุ่มวิศวะ,1,หนู,1,หมู่บ้านต้าหลิ่ว,1,หมูอินทรีย์,1,หลี่จับปลา,1,หลี่ผี,1,หอยเชอรี่,1,หายขาด,1,เห็ดโคนน้อย,1,เห็ดถอบ,1,เห็ดเผาะ,1,องุ่น,1,องุ่นต้น,1,องุ่นบราซิล,1,อนุรักษ์พลังงาน,1,อะราไพม่า,1,อัลดาบร้า,1,อาชีพ,13,อาหาร,3,อาหารพื้นบ้าน,1,อิกัวนา,1,อิกัวน่า,1,อิฐประสาน,1,อินดัสเทรียลลอฟท์,1,อิสระ,6,อีเอ็ม,1,อึ่ง,1,อึ่งเผ้า,1,แอปเปิ้ล,1,แอปเปิ้ลดำ,1,ไอเดีย,12,ไอเดียเกษตร,1,ไอเดียบ้าน,66,ไอเดียสวน,8,ฮอร์โมน,1,โฮมออฟฟิศ,1,เเกษตรผสมผสาน,1,agriculture,59,aldabra,1,Arapaima,1,arowana,1,asparagus,1,BAMBOO,1,Black Diamond,1,Black Diamond Apples,1,cantaloupe,2,career,11,coconut,1,COCOS NUCIFERA LINN,1,Contemporary,2,Contemporary style,1,DIY,1,Dong Tao,4,Đông Tảo,3,Dragon Chickens,4,Dragon fruit,1,dung beetle,1,em,1,farmky,14,farmland,105,fishery,3,food,4,Forestry,6,garden,10,home,133,home-idea,99,Home idea,17,House Types,3,Hydroponics,1,idea,6,iguana,1,jabuticaba,1,KhokNongNa,3,Khok Nong Na Model,3,King of Fuit,1,Knowledge,50,livestock,6,Malva nut,1,Menebang,1,Minimalist,1,Model,3,one-story-house,1,poohin,1,Raksasa,1,share,31,Single storey house,2,sufficiency agriculture,14,town house,1,Tree-Climbing,1,two-story-house,1,vdo,8,Vegetable,5,WINE,1,Yunakov,1,
ltr
item
ฟาร์มกี้.com: การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgiTt08WbCgGbPTxKmzs-P6g2z4DlLPRp3nVHALNeTPMp9g0-qSEMtn4szx081_1i2esBfyEJNiIAnNUsa8A-j0vberbGJF4ek2zseZW_9smMkdoZlLKVsxu5urh0KhYoqPj-yGlZoIWfU/s640/Oostrich1.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgiTt08WbCgGbPTxKmzs-P6g2z4DlLPRp3nVHALNeTPMp9g0-qSEMtn4szx081_1i2esBfyEJNiIAnNUsa8A-j0vberbGJF4ek2zseZW_9smMkdoZlLKVsxu5urh0KhYoqPj-yGlZoIWfU/s72-c/Oostrich1.png
ฟาร์มกี้.com
https://www.farmky.com/2017/11/blog-post.html
https://www.farmky.com/
https://www.farmky.com/
https://www.farmky.com/2017/11/blog-post.html
true
8771229479261943050
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy