วันนี้เราจขอนำเสนอผักพื้นบ้านที่หลายคนรู้จักดีนั้นก็คือ มะเขือเปราะ ลูกเล็ก ๆ คู่ครัวไทยนำมาแกงก็อร่อย นำมาจิ้มน้ำพริกทานก็ถูกใจ รู้ไ...
วันนี้เราจขอนำเสนอผักพื้นบ้านที่หลายคนรู้จักดีนั้นก็คือ มะเขือเปราะ ลูกเล็ก ๆ คู่ครัวไทยนำมาแกงก็อร่อย นำมาจิ้มน้ำพริกทานก็ถูกใจ รู้ไหมว่ามีประโยชน์และสรรพคุณดีงามต่อร่างกายมากมายเลยล่ะ มาดู วิธีการปลูกมะเขือเปราะให้ผลดกเลยค่ะ
เชื่อว่าทุกคนคงต้องทึ่งแน่ ๆ ถ้าได้รู้ว่าผักพื้นบ้านอย่างมะเขือเปราะนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายเราขนาดไหน เพราะถึงแม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่สรรพคุณดี ๆ ของมะเขือเปราะนั้นมีอยู่เพียบ ทั้งช่วยต้านหวัด บำรุงผม บำรุงเล็บ บำรุงตับ บำรุงหัวใจ โดยเฉพาะสรรพคุณที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แถมยังมีประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ อีกมากมาย ฉะนั้นถ้าไม่อยากพลาดประโยชน์เด็ด ๆ ของมะเขือเปราะละก็ เรามารู้จักมะเขือเปราะกันให้มากกว่านี้ดีกว่าค่ะ
มะเขือเปราะ เป็นพืชที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ คือ ผลดกโดยเฉลี่ยประมาณ 21 ผล/ต้น กรอบอร่อย ผลเป็นสีเขียวสลับขาว ต้นมะเขือสามารถบำรุงรักษาไว้ได้นานเกิน 1 ปี บทความนี้จะมาแนะนำ วิธีการปลูกมะเขือเปราะให้ผลดก
ทำความรู้จักมะเขือเปราะกันสักหน่อย
มะเขือเปราะ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solanum aculeatissinum jacq. เป็นพืชวงศ์ SOLANACEAE หรือวงศ์มะเขือ เช่นเดียวกันกับมะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือพวง มะเขือเทศ มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย โดยมะเขือเปราะในภาษาอังกฤษแถบเอเชียจะเรียกว่า green brinjal หรือในอินเดียจะเรียกว่า Kantakari แต่ฝั่งอเมริกาจะคุ้นเคยในชื่อ Eggplant มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเผลอเรียกแค่ Eggplant อย่างเดียวเชียวนะคะ เพราะถ้าเรียกแค่นั้น อาจสร้างความสับสนพาลให้คิดว่าเป็นมะเขือม่วงหรือมะเขือยาวได้ เนื่องจากมะเขือหลาย ๆ ชนิด มักเรียกว่า Eggplant เกือบทั้งหมด ดังนั้นหากจะพูดถึงมะเขือเปราะ ก็ให้เติมคำว่า Thai เป็น Thai Eggplant ไปด้วย จะทำให้เข้าใจได้มากกว่าค่ะ
การเพาะกล้ามะเขือเปราะ
ในแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้สัก 7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วลงไปคลุกเคล้าในดิน เพื่อช่วยให้ดินร่วนฟูดีขึ้น แล้วพรวนย่อยดินให้ละเอียด เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้วก็หว่าน เมล็ดพันธุ์มะเขือให้กระจายไปทั่ว ๆ แปลง หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดี แล้วกลบทับลงไปให้หนาประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
ถ้าจะเพาะเมล็ดโดยวิธีโรยเป็นแถวก็ใช้ระยะห่าง ระหว่างแถว 15 เซนติเมตร โดยทำเป็นร่องแล้วก็ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักหรือดินผสมละเอียดกลบทับ รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ เมื่อต้นกล้างอก มีใบจริงก็ทำการถอนแยกต้นที่อ่อนแอหรือขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปออกให้มีระยะ ห่างประมาณ 10 เซนติเมตร
การเตรียมแปลงหรือเตรียมกระถางปลูก
1.ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก 15 – 20 เซนติเมตร และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
2.ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 2 : 1
1.ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก 15 – 20 เซนติเมตร และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
2.ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 2 : 1
การปลูกมะเขือเปราะ
1.ย้ายต้นกล้าของมะเขือเปราะ ที่เราทำการเพาะไว้ โดยนำกต้นกล้าที่มีใบจริง 3 – 4 ใบ หรือมีความสูงของต้น 7 – 10 เซนติเมตร ปลูกลงในแปลงหรือกระถาง 2.รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
3.หลังย้ายปลูกแล้ว 7 – 10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 -15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา (ควรโรยให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตร และรดน้ำทันที) 4.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 -15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน
5.หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะจเริ่มทยอยให้ผลผลิต ก็สามารถเก็บผลผลิตไปรริโภคได้ 6.หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เคยให้ผลผลิตแล้วออก เพื่อบังคับให้กิ่งใหม่แตกขึ้นมาแทน แล้วมะเขือเปราะจะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งกิ่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะทุกๆ 2-3 เดือน
1.ย้ายต้นกล้าของมะเขือเปราะ ที่เราทำการเพาะไว้ โดยนำกต้นกล้าที่มีใบจริง 3 – 4 ใบ หรือมีความสูงของต้น 7 – 10 เซนติเมตร ปลูกลงในแปลงหรือกระถาง 2.รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
3.หลังย้ายปลูกแล้ว 7 – 10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 -15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา (ควรโรยให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตร และรดน้ำทันที) 4.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 -15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน
5.หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะจเริ่มทยอยให้ผลผลิต ก็สามารถเก็บผลผลิตไปรริโภคได้ 6.หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เคยให้ผลผลิตแล้วออก เพื่อบังคับให้กิ่งใหม่แตกขึ้นมาแทน แล้วมะเขือเปราะจะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งกิ่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะทุกๆ 2-3 เดือน
โรค – แมลง
มีหนอนเจาะผลมารบกวนบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก แก้ปัญหาโดยการฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้และเด็ดผลที่หนอนเจาะทิ้งเพื่อต้นพืชจะ ได้ไม่ต้องส่งอาหารไปเลี้ยงผลที่เสีย
มีหนอนเจาะผลมารบกวนบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก แก้ปัญหาโดยการฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้และเด็ดผลที่หนอนเจาะทิ้งเพื่อต้นพืชจะ ได้ไม่ต้องส่งอาหารไปเลี้ยงผลที่เสีย
การเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อทำพันธุ์ต่อไป
ช่วงอายุประมาณ 95-100 วัน ดอกจะเริ่มทยอยบาน ซึ่งจะบานไม่พร้อมกัน ผลก็จะเริ่มแก่ซึ่งอายุจะอยู่ที่ 180 วัน ต้องทยอยเก็บผลที่เป็นสีเหลืองทั้งผล จากนั้นนำมาทิ้งไว้ในร่มประมาณ 2-3 วัน แล้วนวดผลเพื่อให้เมล็ดหลุดอออกจากเนื้อผล แล้วฝ่าเอาเมล็ดออก จากนั้นล้างทำความสะอาดเมล็ด เมล็ดที่จมจะเป็นเมล็ดที่ดี ส่วนเมล็ดที่ลอยเป็นเมล็ดที่ไม่ดีให้เททิ้งไป จากนั้นใช้ตะแกรงล้างน้ำผ่านอีกครั้ง ทิ้งไว้ให้หมาดก่อนแล้วค่อยนำมาตากแดด(ในการตากควรใช้ผ้ารองเมล็ดตากก่อน) ตากประมาณ 3-4 แดด แล้วเช็คความสะอาดอีกรอบ แล้วค่อยเก็บใส่ถุงกระดาษเขียนชื่อและวันเดือนปีที่เก็บแล้วพับใส่ในถุง พลาสติกเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาอัตราการงอกและลดการหายใจของเมล็ดพันธุ์ ให้น้อยที่สุด จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้นานเกิน 2 ปีขึ้นไป
ช่วงอายุประมาณ 95-100 วัน ดอกจะเริ่มทยอยบาน ซึ่งจะบานไม่พร้อมกัน ผลก็จะเริ่มแก่ซึ่งอายุจะอยู่ที่ 180 วัน ต้องทยอยเก็บผลที่เป็นสีเหลืองทั้งผล จากนั้นนำมาทิ้งไว้ในร่มประมาณ 2-3 วัน แล้วนวดผลเพื่อให้เมล็ดหลุดอออกจากเนื้อผล แล้วฝ่าเอาเมล็ดออก จากนั้นล้างทำความสะอาดเมล็ด เมล็ดที่จมจะเป็นเมล็ดที่ดี ส่วนเมล็ดที่ลอยเป็นเมล็ดที่ไม่ดีให้เททิ้งไป จากนั้นใช้ตะแกรงล้างน้ำผ่านอีกครั้ง ทิ้งไว้ให้หมาดก่อนแล้วค่อยนำมาตากแดด(ในการตากควรใช้ผ้ารองเมล็ดตากก่อน) ตากประมาณ 3-4 แดด แล้วเช็คความสะอาดอีกรอบ แล้วค่อยเก็บใส่ถุงกระดาษเขียนชื่อและวันเดือนปีที่เก็บแล้วพับใส่ในถุง พลาสติกเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาอัตราการงอกและลดการหายใจของเมล็ดพันธุ์ ให้น้อยที่สุด จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้นานเกิน 2 ปีขึ้นไป
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ ของดีที่ควรมีติดบ้าน
รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
มะเขือเปราะได้ชื่อว่าเป็นผักพื้นบ้านที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดมานานแล้ว เพราะมีใยอาหารสูง และเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ละลายน้ำได้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า มะเขือเปราะออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มะเขือเปราะจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับคนป่วยเบาหวานหรือคนที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
บำรุงหัวใจ
งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ. 2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และช่วยควบคุมความดันเลือดให้คงที่ ซึ่งทั้งสองถือเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงได้ ทำให้การทานมะเขือเปราะช่วยบำรุงและลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงได้นั่นเองค่ะ
บำรุงตับ
การทานมะเขือเปราะจะช่วยให้ตับของเราทำงานได้ดีขึ้น เพราะมะเขือเปราะจะไปเพิ่มการผลิตน้ำดีในตับให้ออกมาย่อยไขมันได้มากขึ้น เป็นการป้องกันภาวะตับวายได้อีกทาง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ประเทศอินเดียใช้สารสกัดน้ำจากผลมะเขือเปราะกับหนูทดลอง แล้วพบว่า สารนั้นมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน โดยที่ไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองเลยด้วย
ลดความเสี่ยงมะเร็ง
มีงานวิจัยพบว่าในมะเขือเปราะมีสารไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล ซึ่งการทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า สารทุกตัวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการก่อของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ อีกทั้งในมะเขือเปราะยังมีกรดโคโรจินิกที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แถมยังอุดมไปด้วยสารฟีนอลและวิตามินซี ที่ช่วยให้ภูมิต้านทานแข็งแรง กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวให้มากำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้จึงบอกได้ว่า มะเขือเปราะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้พอสมควรเลยค่ะ
โทษของมะเขือเปราะ ทานเยอะไป ก็อันตรายได้นะ
แม้มะเขือเปราะจะมีประโยชน์อยู่เพียบ แต่หากทานในปริมาณมากหรือทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดขาได้เหมือนกัน เพราะในมะเขือเปราะมีสารโซลานิน (SOLANINE) ซึ่งเป็นสารที่ถ้าร่างกายเราสะสมไว้หลาย ๆ วัน จะไปรวมตัวกับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) แล้วเกาะอยู่ตามข้อต่อ ทำให้เราปวดขา ปวดข้อ หรือเป็นตะคริวได้ค่ะ
ข้อมูลจาก: คนรักบ้าน